การขับรถ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บเข่า หรือที่เรียกว่า Patellofemoral Pain Syndrome (PFPS) และสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องขับรถนานๆ จนทำให้เข่าอยู่ในท่างอค้างไว้
Patellofemoral Pain Syndrome (PFPS) หรือที่หลายคนเรียกว่า “เจ็บหัวเข่า” เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดเข่า โดยเฉพาะในคนที่ต้องนั่งนาน ๆ หรือขยับเข่าซ้ำ ๆ เช่น การขับรถระยะไกล หรือขับรถตอนรถติดนานๆ
ทำไมการขับรถถึงเพิ่มโอกาส การเจ็บเข่า Patellofemoral Pain Syndrome (PFPS)?
1. งอเข่าเป็นเวลานาน
เมื่อนั่งขับรถโดยเหยียดขา และกดคันเร่งหรือเบรก เข่าจะต้องงอค้างไว้นาน ทำให้เกิดความดันบริเวณลูกสะบ้า (patella) (หน้าหัวเข่า) จนอาจทำให้เกิดการอักเสบ และปวดเข่า
2. ตำแหน่งเบาะนั่งไม่เหมาะสม
หากเบาะนั่งต่ำเกินไป หรืออยู่ไกลจากคันเร่งมากเกินไป จะทำให้การทำงานของข้อเข่าเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดแรงกดบริเวณข้อเข่าลูกสะบ้าขึ้น
3. การเคลื่อนไหวในท่าเดิมๆซ้ำๆ
การเหยียบเบรกและคันเร่งซ้ำ ๆ ตลอดการเดินทาง ทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่า โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาเกิดความล้าและตึง เมื่อกล้ามเนื้อต้นขามีอาการตึงเกินไป หรือบาดเจ็บจนกล้ามเนื้อเกร็ง จะส่งผลให้ลูกสะบ้ามีโอกาสที่จะเสียดสีกับผิวข้อเข่าได้มากขึ้นและเกิดเป็นอาการบาดเจ็บได้ในที่สุด
4. การนั่งท่าเดิมนานเกินไป
การที่ร่างกายไม่เคลื่อนไหว นั่งอยู่กับที่นานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อสะโพกตึง ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่สมดุล และดึงให้ลูกสะบ้าเคลื่อน
วิธีป้องกันอาการปวดเข่า (PFPS) ระหว่างขับรถ
• ปรับตำแหน่งเบาะนั่งให้เหมาะสม
ควรปรับเบาะให้อยู่ในตำแหน่งที่สบาย ให้เข่างอประมาณ 120 องศา เพื่อลดแรงกดบนบริเวณหัวเข่า
• หยุดพักระหว่างทางเป็นระยะ
หากต้องขับรถนาน ๆ ควรหยุดพักทุก 1–2 ชั่วโมง เพื่อยืดเส้น และคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงและความเมื่อยล้า
• ใช้อุปกรณ์รองรับเข่า
ใช้หมอนใบเล็ก หรือผ้าขนหนูม้วนวางใต้เข่า เพื่อช่วยกระจายแรงกด และลดแรงกระแทกที่ข้อเข่า
• เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก เป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความสมดุลของข้อเข่า และป้องกันการเกิดการเจ็บเข่า
ท่าออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อต้นขา
Quad Set Exercise (ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขา)
1. นั่งบนพื้น และเหยียดขาข้างหนึ่งตรง อีกข้างให้งอเข่าไว้
2. กระดกปลายเท้าของขาที่เหยียดตรงเข้าหาตัว แล้วกดหลังเข่าแนบพื้น พร้อมเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ค้างไว้ 3–5 วินาที และผ่อน
3. ทำซ้ำ 10–15 ครั้ง และทำ 3–5 เซตต่อวัน

ข้อควรระวัง:
• อย่าแอ่นหลังขณะทำ
• อย่าห่อไหล่
การฝึก Quad Sets เป็นหนึ่งในวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าต้นโดยไม่เพิ่มแรงกดที่บริเวณข้อเข่า และช่วยเร่งการฟื้นตัวของอาการการเจ็บเข่า
เกี่ยวกับ EDNA Wellness
EDNA Wellness เป็นคลินิกเอกชนในกรุงเทพฯ ที่เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ (เซลล์บำบัด) ที่เน้นการฟื้นฟูระบบประสาทฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และข้อเข่าเสื่อม และ IV Drip แบบเฉพาะบุคคล รวมถึงการดูแลด้านความงาม และสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมืออาชีพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
LINE Official: @ednawellness
WhatsApp +66 (0) 64 505 5599