MENU

What is Stem Cell

ทำความรู้จัก สเต็มเซลล์คืออะไร?

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า “สเต็มเซลล์ (Stem cell)” หรือ เซลล์ต้นกำเนิดกันมาบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าสเต็มเซลล์คืออะไร หรือมีความสำคัญในทางการแพทย์ในเรื่องไหนบ้าง ซึ่งต้องบอกว่าเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นความหวังของวงการแพทย์ และผู้ป่วยเลยก็ว่าได้

เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญ และได้ทำความรู้จักกับ สเต็มเซลล์ มากขึ้น ในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า สเต็มเซลล์ คืออะไร แหล่งที่มา รวมถึงประโยชน์และความสำคัญมีอะไรบ้าง

สเต็มเซลล์ คืออะไร?

สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือที่เรียกว่า เซลล์ต้นกำเนิด เป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่มีความสามารถในการแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำหน้าที่ในการทดแทน หรือซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพ และยังสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของตัวเองได้ โดยร่างกายของมนุษย์นั้นสามารถสร้างสเต็มเซลล์เพื่อทดแทนเซลล์ที่เสียหายได้เองตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น ภาวะโรคบางชนิด หรือความเสื่อมของร่างกายตามอายุ การผลิตเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) อาจลดลง ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะ และทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถฟื้นตัวได้เอง

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ stem cell สเต็มเซลล์ มีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการนำไปใช้ในงานทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ และฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงโรคที่รักษาได้ยาก หรือไม่มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน นอกจากนี้ สเต็มเซลล์ยังมีบทบาทสำคัญในด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation) และเวชศาสตร์ชะลอวัย (anti-aging) ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

โดยหนึ่งในชนิดของสเต็มเซลล์ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษทางการแพทย์คือ Mesenchymal Stem Cells (MSCs) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่มีศักยภาพสูงในการฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหาย และมีการนำมาใช้รักษาโรคหลายชนิด

สเต็มเซลล์ MSCs คืออะไร?

Mesenchymal Stem Cells (MSCs) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดหนึ่งที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ในระบบต่าง ๆ เช่น กระดูก ไขมัน และกระดูกอ่อน ซึ่ง MSCs ได้รับการวิจัยอย่างกว้างขวางว่ามีความสามารถในการฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย โดยเฉพาะในกรณีของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ หรือการเสื่อมของเซลล์ โดยสเต็มเซลล์ MSCs นั้นสามารถสกัดได้จากร่างกายของมนุษย์ ดังนี้

  • ไขกระดูก (Bone Marrow): แหล่งที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีศักยภาพในการแบ่งตัวสูง
  • เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue): สกัดได้ง่ายและมีปริมาณมาก
  • สายสะดือ (Umbilical Cord): แหล่งที่มีความบริสุทธิ์ และมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูสูง

ปัจจุบันยังคงมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสเต็มเซลล์ชนิดนี้เพิ่มเติม เช่น เยื่อหุ้มรก (Placenta) ที่มีความบริสุทธ์เช่นเดียวกับสายสะดือ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงของการวิจัยในคุณสมบัติและการนำไปใช้รักษาผู้ป่วย

ประโยชน์ของสเต็มเซลล์ MSCs

MSCs มีความสามารถพิเศษในการลดการอักเสบ ฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางการแพทย์ โดยเฉพาะสำหรับการรักษาโรคเรื้อรัง และภาวะเสื่อมของร่างกาย ปัจจุบันแพทย์ได้นำสเต็มเซลล์ MSCs ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยใน 2 โรคสำคัญ ดังนี้

1. การใช้สเต็มเซลล์ MSCs รักษาโรค Stroke สโตรก

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สโตรค เกิดจากการอุดตันหรือแตกของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเกิดความเสียหาย การนำสเต็มเซลล์ MSCs ไปใช้ในการรักษาจะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยจากภาวะ Stroke ด้วยการกระตุ้นกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ ช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น ลดการอักเสบของเซลล์ประสาทช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น และซ่อมแซม ฟื้นฟูเซลล์สมองที่เสียหาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวดีขึ้น

2. การใช้สเต็มเซลล์ MSCs รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนในข้อเข่า ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เจ็บเข่า และข้อติดขัด ผู้ป่วยภาวะนี้มักมีอาการปวดเมื่อต้องเดิน ลุก หรือนั่ง ทำให้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และหลายคนรู้สึกปวดมากแม้ในเวลาที่ไม่ได้ขยับ เคลื่อนไหวร่างกาย ในการนำสเต็มเซลล์ MSCs เข้ามาช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจะช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนใหม่ ลดอาการปวดเข่า เจ็บเข่า เจ็บลูกสะบ้า และเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อเข่า ลดการอักเสบในข้อเข่า ช่วยให้ข้อกลับมาทำงานได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือคุณสมบัติในการช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อในข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติมากขึ้น

สเต็มเซลล์ ทางเลือกแห่งอนาคตที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วย

MSCs เป็นสเต็มเซลล์ที่มีศักยภาพสูง สามารถช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาโรคที่สำคัญในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับโรคสโตรก (Stroke) และโรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis, Knee OA)ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และเริ่มมีผู้ป่วยในหลายช่วงวัย ทำให้การนำสเต็มเซลล์เข้ามารักษาจะช่วยลดความเสี่ยงความรุนแรงของโรคที่จะตามมา และช่วยให้ผู้ป่วยผ่านพ้นช่วงวิกฤติ พร้อมกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง